บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
( Science Experiences Management for Early Childhood )
อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
วัน ศุกร์ ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2557
เวลา 13:10 - 16:40 น.
Evaluation
Friends : มีความใส่ใจในการเรียนรู้ที่จะทำกิจกรรม และมีความร่วมมือเป็นอย่างดี
Teacher : มีการวางแผนในการจัดกิจกรรม แนวความคิดที่แปลกใหม่ การเรียนรู้ที่สามรถเรียนรู้เข้าด้วยกันกับวิชาวิทยาศาสตร์
Activities : ท้าลมหมุนด้วยกระดาษ
Type 1
Steps 1 : ตัดกระดาษความกว้างประมาณ 2ซม./ ความสูง ประมาณ 2 นิ้ว
Steps 2 : พับครึ่งกระดาษ จากความสูงลงมาแล้วกางออก
Steps 3 : ตัดกระดาษจากด้านล่าง(ไปถึงเส้นกลางที่พับเมื่อสักครู่)และพับให้ปีกไปคนละฝั่ง
Steps 4 : กลับกระดาษลงมาอีกด้านที่ไม่มีรอยตัด ให้พับปลายขึ้นประมาณ 1ซม.และใช้คลิปหนีบกระดาษกลัดไว้ตรงกลาง
Type 2
Steps 1 : ตัดกระดาษความกว้างประมาณ 2ซม./ ความสูง ประมาณ 2 นิ้ว
Steps 2 : พับครึ่งกระดาษ จากความสูงลงมาแล้วกางออก
Steps 3 : ตัดกระดาษจากด้านล่างขึ้นไปเล็กน้อย(ไม่ต้องถึงเส้นกลางที่พับเมื่อสักครู่)และพับให้ปีกไปคนละฝั่ง
Steps 4 : กลับกระดาษลงมาอีกด้านที่ไม่มีรอยตัด ให้พับปลายขึ้นประมาณ 1ซม.และใช้คลิปหนีบกระดาษกลัดไว้ตรงกลาง
สรุปความรู้จากของเล่น(The knowledge of Toys)
เหตุที่หมุนได้เกิดจาก
1.แรงโน้มถ่วงจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ
2.น้ำหนัก
3.พื้นที่ของปีกกระดาษ
4.อากาศ ซึ่งเป็นสิ่งหนุนรองที่ทำให้ตกลงช้า
การนำไปใช้กับเด็กปฐมวัย(Applied to children)
ในสอนครูควรให้เด็กได้ศึกษาทดลองด้วยตนเองก่อน โดยไม่ควรบอกสาเหตุกับเด็กว่าเพราะอะไรหรือเล่นโดยวิธีไหนแต่จะใช้คำถามและให้เด็กค้นพบด้วยตนเอง เช่น เด็กๆมีวิธีการอย่างไรแบบไหนบ้างคะ,แล้วเพราะอะไรถึงเป็นเช่นนี้ ก็จะทำให้เด็กได้คิดหาคำตอบ และได้คำตอบที่หลากหลายของแต่ละคน
1.สงสัย (wonder)
2.สังเกต (observe)
3.วิเคราะห์ (Analysis)
4.เปรียบเทียบ (Compare)
5.ตั้งสมมุติฐาน (hypothesized)
6.การแก้ปัญหา (The solution)
Evaluation
Self : ได้รู้ถึงเทคนิคการจัดทำสื่อเพื่อนำไปจัดประสบการณ์ให้แก่เด็กปฐมวัย เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ กระบวนการคิด และยังสามารถลงมือปฏิบัติได้ด้วยตนเองอีกด้วย
Friends : มีความใส่ใจในการเรียนรู้ที่จะทำกิจกรรม และมีความร่วมมือเป็นอย่างดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น